มาเลเซียคว้าแชมป์สาขาเน็ตเวิร์คหัวเว่ยไอซีทีระดับเยาวชน
ไอที
การแข่งขัน Huawei ICT Competition 2018-2019 เป็นเวทีแข่งขันความสามารถด้านไอซีที บนอุปกรณ์หัวเว่ย ซึ่งนักศึกษาสายวิศวกรรมศาสตร์จากทั่วโลก ที่ผ่านสนามการแข่งขันในระดับประเทศ จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศนั้นๆ เข้ามาร่วมการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับโลก เพื่อเฟ้นหาสุดฝีมือในศาสตร์ด้านเน็ตเวิร์ค คลาวด์ และนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
การแข่งขันแบ่ง เป็น 3 ประเภท คือ เน็ตเวิร์ค คลาวด์ และนวัตกรรม ปีนี้การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับโลก จัดที่เมืองวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ย หรือ ( R&D) แห่งใหม่ของหัวเว่ย ตั้งอยู่ที่เมืองดงกวน อยู่ห่างจากเมืองเซินเจิ้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง เรียกว่า ซีหลิวเป้ยโพชุน (Xi Liu Bei Po Cun ) เป็นศูนย์ทำงานด้านวิจัยและพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดของหัวเว่ย
การแข่งขัน Huawei ICT Competition 2018-2019 ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ "Connection, Glory, Future" ปรากฏว่า ทีมมาเลเซียและทีมแอลจีเรียได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันฝึกซ้อมของ Network Track
ทีมเปรูและทีมจากมหาวิทยาลัยกุ้ยหลิน ได้รางวัลชนะเลิศการแข่งขันฝึกซ้อม Cloud Track และทีมมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจา ตง ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดนวัตกรรม
ทีมชนะเลิศ จะได้รับทุนการศึกษา และการดูงานในประเทศต่างๆ ของหัวเว่ย นอกเหนือไปจากถ้วยรางวัล โทรศัพท์และสมาร์ทวอช
สำหรับประเทศไทย ปีนี้เป็นครั้งแรกที่มีทีมตัวแทนจากไทยเข้าร่วมการแข่งขัน 3 คน ประเภทเน็ตเวิร์ค ที่ผ่านการแข่งขันในไทย ได้ผู้ชนะ อันดับ 1-3 ไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ คือ นางสาวภูรินทร์ ติ๊บแก้ว จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร นายณัฐพร พรสวัสดิ์ และนายกัณฐ์ เตโชสกลดี จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง โดยมีอาจารย์อัครเดช วัชรภูพงษ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เป็นผู้ควบคุมทีม แต่ไม่มีโอกาสลุ้นรางวัลในรอบชิงชนะเลิศ
ตัวแทนจากไทยทั้งสามคนยอมรับว่า กดดันสูง ยากมาก โดยคณะกรรมการจะให้อุปกรณ์เชื่อมต่อ โจทย์ก็คือ ต้องทำให้อุปกรณ์ชิ้นนั้น เชื่อมต่อกับระบบต่างๆ ที่ซับซ้อนมากๆ ภายในเวลาจำกัด
การแข่งขันแบ่ง เป็น 3 ประเภท คือ เน็ตเวิร์ค คลาวด์ และนวัตกรรม ปีนี้การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับโลก จัดที่เมืองวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ย หรือ ( R&D) แห่งใหม่ของหัวเว่ย ตั้งอยู่ที่เมืองดงกวน อยู่ห่างจากเมืองเซินเจิ้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง เรียกว่า ซีหลิวเป้ยโพชุน (Xi Liu Bei Po Cun ) เป็นศูนย์ทำงานด้านวิจัยและพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดของหัวเว่ย
การแข่งขัน Huawei ICT Competition 2018-2019 ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ "Connection, Glory, Future" ปรากฏว่า ทีมมาเลเซียและทีมแอลจีเรียได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันฝึกซ้อมของ Network Track
ทีมเปรูและทีมจากมหาวิทยาลัยกุ้ยหลิน ได้รางวัลชนะเลิศการแข่งขันฝึกซ้อม Cloud Track และทีมมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจา ตง ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดนวัตกรรม
ทีมชนะเลิศ จะได้รับทุนการศึกษา และการดูงานในประเทศต่างๆ ของหัวเว่ย นอกเหนือไปจากถ้วยรางวัล โทรศัพท์และสมาร์ทวอช
สำหรับประเทศไทย ปีนี้เป็นครั้งแรกที่มีทีมตัวแทนจากไทยเข้าร่วมการแข่งขัน 3 คน ประเภทเน็ตเวิร์ค ที่ผ่านการแข่งขันในไทย ได้ผู้ชนะ อันดับ 1-3 ไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ คือ นางสาวภูรินทร์ ติ๊บแก้ว จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร นายณัฐพร พรสวัสดิ์ และนายกัณฐ์ เตโชสกลดี จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง โดยมีอาจารย์อัครเดช วัชรภูพงษ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เป็นผู้ควบคุมทีม แต่ไม่มีโอกาสลุ้นรางวัลในรอบชิงชนะเลิศ
ตัวแทนจากไทยทั้งสามคนยอมรับว่า กดดันสูง ยากมาก โดยคณะกรรมการจะให้อุปกรณ์เชื่อมต่อ โจทย์ก็คือ ต้องทำให้อุปกรณ์ชิ้นนั้น เชื่อมต่อกับระบบต่างๆ ที่ซับซ้อนมากๆ ภายในเวลาจำกัด