สมาร์ทแล็บมจธ.พัฒนาวัสดุฉลาดรักษาโรคถุงลมโป่งพอง
ไอที
ดังนั้นทีมวิจัยที่ประกอบตัวเอง ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการ ฯ นายถกล กิจรัตนเจริญ นายชวิน เกยานนท์ และนางสาวปภัสณา วงษ์แพทย์ จึงได้คิดค้นนวัตกรรม "การใช้อุปกรณ์วาล์วทางเดียวจากโลหะผสมจำรูปเพื่อใช้รักษาโรคถุงลมโป่งพอง" ขึ้น โดยเป็นการออกแบบและผลิตอุปกรณ์รักษาโรคถุงลมโป่งพองชนิดขดลวดคํ้ายันประกบวาล์วทางเดียวจากวัสดุฉลาดประเภทโลหะผสมจำรูป นิกเกิล-ไทเทเนียม เพื่อช่วยในการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง
นายศุภกิจ กล่าวว่า อุปกรณ์ที่ใช้ทำจากวัสดุฉลาด มีความยืดหยุ่น สามารถคืนรูปได้ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด แต่สามารถลดปริมาตรอากาศในปอดได้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บน้อยที่สุด โดยนำอุปกรณ์ผ่านเข้าทางสายสวนขนาดเท่าหลอดน้ำดื่ม ผ่านทางลำคอ เมื่อสอดอุปกรณ์ไปจนถึงบริเวณตรวจพบการคั่งค้างของอากาศ ก็จะปล่อยอุปกรณ์ไว้ที่บริเวณนั้น อุปกรณ์ที่นำเข้าไปจะไม่ปล่อยอากาศเข้าไปแต่จะนำพาอากาศที่คั่งค้างอยู่ภายในปอดออกมา ทั้งนี้จากทำงานร่วมกับคุณหมอที่ปฏิบัติงานจริง ทำการทดลองในห้องแล็บและทดลองกับอาจารย์ใหญ่ ทำให้ผลงานที่ได้มีมาตรฐานและใช้งานได้จริง
ด้านรศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด ที่ปรึกษาโครงการ ฯ กล่าวว่า การใช้อุปกรณ์วาล์วทางเดียวจากโลหะผสมจำรูปเพื่อใช้รักษาโรคถุงลมโป่งพอง (Endobronchial Valve, EBV) ที่เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก ประกอบด้วย โครงคํ้ายันนิกเกิล-ไทเทเนียมที่ห่อหุ้มด้วยซิลิโคนและวาล์วทางเดียว เป็นทางเลือกในการรักษาวิธีใหม่ ที่ช่วยลด การนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์จากต่างประเทศ
จุดเด่นคืออุปกรณ์ EBV ไม่ก่อให้เกิดบาดแผลและความเจ็บปวดในการรักษา เพราะอุปกรณ์สามารถนำผ่านเข้าทางสายสวนผ่านทางลำคอได้โดยตรง ดังนั้นหากประเทศไทยสามารถผลิต EBV ได้จะช่วยให้คนไทยจำนวนมากเข้าถึงการรักษาได้ และนำเข้าสู่การขึ้นทะเบียนนวัตกรรมเพื่อต่อยอดให้เกิดการแข่งขันในเชิงพาณิชย์ต่อไป อีกทั้งยังเป็นการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบและผลิตอุปกรณ์รักษาโรคถุงลมโป่งพอง เพื่อใช้ในการพัฒนาต่อไปในอนาคต