พบคนไทยติดอันดับโลกไม่ยอมลาหยุดพักร้อน
ไอที
จากการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของพนักงานประจำในประเทศไทยจำนวน 300 คน ผลการสำรวจพบว่า แรงงานไทยร้อยละ 80 เห็นด้วยว่า พวกเขาสมควรได้รับวันลาพักร้อนเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง 4 อันดับสูงสุดเป็นประเทศในเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกงร้อยละ 86 อินเดีย ร้อยละ 82 และญี่ปุ่นร้อยละ 54
ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจมากที่สุดจากรายงานประจำปี 2561 มีดังนี้ แม้ว่า คนส่วนใหญ่จะนิยมใช้ช่วงวันลาพักร้อนมาดูแลสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น แต่วันลาพักร้อนก็ยังถูกใช้ไปในการทำธุระเรื่องอื่นๆ อีก เช่น จัดตารางนัดหมาย และทำสิ่งต่างๆ ที่คั่งค้างให้เสร็จ ปรากฏการณ์นี้พบมากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดียร้อย ไทย และ บราซิล สอดคล้องกับผลสำรวจปี 2560 ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่แย่มากที่สุดเมื่อกลับมาทำงานหลังจาก ลาหยุดพักร้อน หลายประเทศในแถบเอเชียยังติดอันดับสูงสุดในเรื่องการยกเลิกหรือเลื่อนวันลาพักร้อนเนื่องจากติดงาน
ส่วนระดับของกลุ่มแรงงานไทยที่ไม่ลาหยุดพักร้อนนั้นแตกต่างกันไปตามกลุ่มอุตสาหกรรม ด้านการเกษตรร้อยละ 71 ด้านการตลาด และสื่อ ร้อยละ 67 ตามมาด้วยด้านอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 64 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ใช้วันลาพักร้อนมากที่สุด
สำหรับเหตุผล 3 ข้อแรกที่คนไทยไม่ใช้วันลาพักร้อน คือ ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนร้อยละ 27 เก็บวันหยุดไว้ลาในช่วงวันหยุดยาว ร้อยละ 25 และไม่สามารถลาหยุดงานได้ร้อยละ 24
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูล พบว่า คนไทยมีความสนใจและการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 35 ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกล่าวว่า เป้าหมายหลักในการลาพักร้อนประจำปีคือ “เพื่อ สุขภาพจิตที่ดี” และพวกเขารู้สึกว่าการพักร้อนเป็นโอกาสที่จะ “กดปุ่มรีเซ็ต” เพื่อคลายความเครียดและความวิตกกังวล