กสทช. ประเมินมูลค่าชดเชยทีวีดิจิตอล 7 ช่อง 3,800 ล้านบาท
ไอที
ทั้งนี้ กสทช.น่าจะสามารถนำเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) มาจ่ายให้ก่อน โดยกสทช.จะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด เนื่องจากเมื่อมีการคืนใบอนุญาตในช่วงเวลานี้ทำให้ช่องที่คืนจะไม่มีรายได้จากค่าโฆษณาเข้ามาอีก เพราะผู้ลงโฆษณาก็ไม่มีความมั่นใจ และหากดำเนินการได้เร็วจะเป็นการช่วยพนักงานที่ถูกเลิกจ้างให้ได้รับเงินเยียวยาด้วย
นายฐากร กล่าวว่า ล่าสุดได้ทำร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ (694-700เมกะเฮิรตซ์) เสร็จสิ้นแล้ว โดยจะเปิดจัดสรรรวม 30 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งใบอนุญาตละ 10 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 3 ใบอนุญาต กำหนดราคาจัดสรรที่ใบละ 17,584 ล้านบาท ทั้งนี้ ภายหลังประกาศร่างหลักเกณฑ์ฯ แล้วจะรับฟังความเห็นสาธารณะในวันที่ 22 พ.ค.62 ก่อนจะนำกลับมาเสนอบอร์ดกสทช.และประกาศในราชกิจการนุเบกษา
อย่างไรก็ตาม วันที่ 19 มิ.ย.62 ผู้เข้าร่วมจัดสรรต้องนำเอกสารมายื่นในช่วงเช้าที่สำนักงานกสทช. จากนั้นบอร์ดกสทช.จะพิจารณาคุณสมบัติ โดยหากผู้เข้ารับการจัดสรรเลือกชุดคลื่นความถี่เดียวกันให้ใช้วิธีจับสลาก เบื้องต้นราคาที่กำหนดน่าจะเป็นราคาที่เหมาะสมแล้วเชื่อว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคาอีก
สำหรับโรดแมพการจัดสรรคลื่นความถี่ของกสทช. กำหนดให้คลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซ ที่เหลือ 15 เมกะเฮิร์ตซ แบ่งเป็น 3 ใบๆละ 5 เมกะเฮิร์ตซ ราคา 8,792 ล้านบาท กำหนดจัดสรรให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย.62 คลื่น 2600 เมกะเฮิร์ตซ (จำนวน 190 เมกะเฮิร์ตซ) และคลื่น 26และ28 กิกะเฮิร์ตซ จะมีการทำการประมูลแบบมัลติแบนด์ (ประมูลพร้อมกันไปสองย่าน)โดยจะมีการประมูลช่วงปลายปีนี้ คลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ และ 700 เมกะเฮิร์ตซ ทีเหลืออยู่น่าจะมีการประมูลในเดือนเม.ย.63 ต่อไป ส่วนย่าน 3,400-3,500 เมกะเฮิร์ตซ เนื่องจากคลื่นยังมีการใช้งานอยู่จึงยังไม่มีการกำหนดเวลาที่จะนำมาจัดสรร