คืนช่องทีวีดิจิทัล ฝันร้ายวงการสื่อครั้งประวัติศาสตร์
ไอที
ทั้งนี้ทาง กสทช.ได้ใช้สูตรคำนวณค่าเยียวยาขอคืนใบอนุญาตช่องทีวีดิจิทัล ตามคำสั่ง คสช.ที่ 4/2562 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมนั่นคือ ช่องที่จะขอคืนใบอนุญาตต้องยื่นแจ้งความประสงค์ภายในวันที่ 10 พ.ค.2562 ก่อนเวลา 16.30 น. และไม่สามารถเปลี่ยนใจในภายหลังได้ ซึ่งสูตรการคำนวณค่าชดเชยให้กับ “ผู้ขอคืน” ใบอนุญาต โดยจะแบ่งการคำนวณเป็น 2 ส่วน คือ นำค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ได้ชำระแล้ว นับถึงถึงงวดที่ 4 ซึ่งครบกำหนดจ่ายปีนี้ คูณด้วยอายุใบอนุญาตในส่วนที่ไม่ได้ใช้งานคลื่นความถี่ และหารด้วยอายุใบอนุญาตทั้งหมด คือ 15 ปี สำหรับช่องที่ยังไม่ได้จ่ายงวดที่ 4 ก็ให้นับรวมไปเลย โดยจะหักกลบลบหนี้ในตอนที่ชำระเงินคืนให้ คาดว่าจะเป็นร้อยละ55%ของเงินมัดจำที่วางไว้
จากนั้นให้คำนวณผลประโยชน์ที่ผู้รับใบอนุญาตได้รับระหว่างการประกอบกิจการมาหักลบออก ได้แก่ เงินสนับสนุนค่าเช่าโครงข่าย (MUX)และค่าใช้จ่ายในการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมตามเกณฑ์ Must Carry ตั้งแต่วันที่ได้รับการสนับสนุนจนถึงวันยุติการให้บริการ และผลประกอบการของผู้รับใบอนุญาตตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึง 11 เม.ย. 2562 เฉพาะที่มีกำไรสุทธิ โดยผู้ประสงค์จะขอคืนใบอนุญาตต้องนำส่งผลประกอบการภายใน 60 วัน นับแต่ยื่นหนังสือแจ้งขอคืนใบอนุญาตโดยหลังยื่นเอกสารขอคืนช่อง คณะกรรมการกสทช.จะพิจารณากำหนดวันยุติการให้บริการของช่องที่ขอคืนใบอนุญาต จากแผนการเยียวยาประชาชนที่แต่ละช่องเสนอมา ขั้นต่ำ 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน เพื่อชี้แจงประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ ถึงการเตรียมยุติการออกอากาศ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนส.ค.2562 โดยกสทช.จะนำเงินจากกองทุนกทปส.จ่ายชดเชยให้ไปก่อน โดยไม่ต้องรอเงินจากการจัดสรรคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซ
ซึ่งจากการคืนช่องทีวีดิจิทัล สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือ พนักงานของทางช่องต่างๆทั้ง 7 ช่องจำนวนหลายพันชีวิตจะต้องถูกเลิกจ้างงาน ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย,สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย,สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงได้ออกแถลงการณ์ร่วม
หลังเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลตลอดมา มีความเข้าใจในสถานการณ์ และห่วงใยต่อสภาวะการว่างงานของพนักงานสังกัดทีวีดิจิทัลที่ผู้ประกอบการคืนใบอนุญาตที่จะมีผู้ได้รับผลกระทบจานวนมากเป็นประวัติการณ์ในแวดวงสื่อสารมวลชน เพราะนี่คือการปิดบริษัท ไม่ได้เป็นเพียงการเปิดโครงการเพื่อลดจานวนพนักงานเช่นเดียวกับในช่วงที่ผ่านมา จึงมีข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะดังนี้
1. เรียกร้อง กสทช. ให้ขอความร่วมมือ/กำชับผู้ประกอบการที่คืนใบอนุญาต ได้ดำเนินการดูแลชดเชยเยียวยาพนักงานที่ตกงาน มากกว่าที่พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานกำหนด เนื่องจากการคืนใบอนุญาตดังกล่าวผู้ประกอบการเองก็ได้รับเงินคืน จาก กสทช.เช่นกัน
2. ขอให้ผู้ประกอบการ เจ้าของสื่อ ชดเชยเยียวยาพนักงานที่ตกงานด้วยความเป็นธรรมและมากกว่าพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานกำหนด เนื่องจากเป็นการปิดบริษัทอย่างกะทันหันไม่ได้แจ้งล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนด และการคืนใบอนุญาตดังกล่าวผู้ประกอบการเองก็ได้รับเงินคืนจากกสทช.เช่นกัน รวมทั้งต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้ด้วย ยืนยันว่าทุกองค์กรวิชาชีพเข้าใจในสถานการณ์ในอุตสาหกรรมสื่อซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น และต้องการให้การยุติการประกอบการจบลงด้วยดีกับทุกฝ่าย
นับเป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับแวดวงสื่อสารมวลชนไทย ที่ประสพปัญหาการว่างงานครั้งประวัติศาสตร์ นี้หลายคนเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้วโดยก้าวออกจากวงการสื่อไปเริ่มประกอบธุรกิจส่วนตัว แต่อีกหลายคนก็ยังตั้งตัวไม่ทัน คิดไม่ออกว่าจะเอาวิชาความรู้ที่ร่ำเรียน ที่สั่งสมประสบการณ์มาหลายสิปปี ไปใช้ทำมาหาเลี้ยงครอบครัวต่อไปอย่างไร ในเมื่อทั้งบ้านทั้งรถยนต์ ก็ยังต้องผ่อน ลูกๆยังต้องเล่าเรียน จึงขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพให้ฝ่าฟันวิกฤตในครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปด้วยดี.