ดีป้า พบผู้นำเมืองทั่วประเทศ ผลักดันพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
ไอที
สำหรับกิจกรรมสำคัญ คือ การให้ข้อมูลภาพรวมโครงการ การแนะนำหลักเกณฑ์ และขั้นตอนการสมัครเป็นเมืองอัจฉริยะ รวมถึงการอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่องแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมในครั้งนี้จะสร้างโอกาสครั้งสำคัญสำหรับเมืองต่างๆ ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่ทันสมัย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง หน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวก หวังจะให้ประชาชนเข้าถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปพัฒนาและปรับเปลี่ยนกิจกรรม ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ได้มีการกำหนดตราสัญลักษณ์และประเภทของเมืองอัจฉริยะ โดยแบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ 1. เศรษฐกิจอัจฉริยะ 2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ 3.พลังงานอัจฉริยะ 4. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ 5.พลเมืองอัจฉริยะ 6.การดำรงชีวิตอัจฉริยะ และ 7.การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ
"ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาเมืองเดิม โดยนำร่องในหลายพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา รวม 7 จังหวัด 10 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดภูเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชน และความเข้าใจของประชาชนในพื้นที่ ทำให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในพื้นที่นำร่อง มีความก้าวหน้า โดยสามารถถอดบทเรียน กำหนดปัจจัยความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา และเพิ่มเติมในส่วนเมืองใหม่ ใน 8 จังหวัด 15 พื้นที่ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กรุงเทพฯ และปริมณฑล