'ซิสโก้'เสนอโซลูชั่นเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
ไอที
วันนี้(26 มี.ค.) นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย และ ภูมิภาคอินโดจีน เปิดเผยว่า ซิสโก้ ได้จัดงาน “ซิสโก้ คอนเน็ค ไทยแลนด์ 2019” ภายใต้แนวคิด "Say Hello to The Future” โดยเป็นงานใหญ่ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อนำเสนอเทคโนโลยี และโซลูชั่น ที่ช่วยให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนสู่ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น โดยมีลูกค้าและพาร์ทเนอร์เข้าร่วมงานประมาณ 800 คน ซึ่งในปีนี้มีการนำเสนอเทคโนโลยีใน 5 แกนหลัก คือ 1 เน็ตเวิร์ค ซึ่งรูปแบบใหม่ของไวไฟที่ใช้มา 20 ปี จะเปลี่ยนไปเป็น ไวไฟ 6(Wi-Fi 6 ) ที่มีความเร็วและส่งสัญญาณได้ระยะไกลเป็นกิโลเมตร จากปัจุบันที่ประมาณ 100 เมตร ทำงานรวมกับ 5 จี เป็นการผสานเทคโนโลยี ช่วยในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ไอโอที(อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงค์)ต่างๆ ซึ่งปีนี้น่าจะได้เริ่มเห็นไวไฟ 6 ในไทย แต่อาจจะยังจำกัดเรื่องอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ต้องสามารถรองรับได้ด้วย
2.คลาวด์ องค์กรต่างๆจะมีการใช้งานคลาวด์มากขึ้น ทุกคนต่างย้ายไปยังเทคโนโลยีคลาวด์ จึงต้องคิดว่าทำอย่างไรให้เลือกใช้ได้คลาวด์ได้มีประสิมธิภาพมากขึ้น 3. Collaboration ที่มีการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อให้สามารถทำงานภายนอกมากขึ้น ช่วยให้สื่อสารระหว่างคนได้สะดวกในทุกที่ อาทิ ห้องประชุมทางไกลที่มีการนำเทคโนโลยีเอไอมาใช้ สามารถสั่งงายด้วยเสียง ฯลฯ ร 4. การเชื่อมต่อ ที่ในอนาคตไม่ได้อยู่กับคอมพิวเตอร์เพียวอย่างเดียว มี ไอโอทีเข้ามา การเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่างๆจะเกิดขึ้นมากแม้แต่หลอดไฟที่มีเทคโนโลยีไอโอที จึงมีแนวคิดว่า ทำอย่างไรจะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้เป็นความรู้หรือต่อยอดได้ และ5.ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ปัจจุบันเกการโจมตีของแฮกเกอร์มากมายทุกคนต้องให้ความสำคัญในเรื่องระบบความรักษาปลอดภัย
ทั้งนี้โซลูชั่นที่นำมาจัดแสดง อาทิ Cisco Realware อุปกรณ์สวมใส่แห่งอนาคตที่ใช้คำสั่งผ่านเสียงเท่านั้น ช่วยให้การทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเป็นไปอย่างต่อเนื่องและราบรื่นโดยไม่ติดขัด และรองรับเสียงภาษาไทยได้แล้ว , Cisco Multi-cloud ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายด้านคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรธุรกิจมี visibility ที่สามารถรับรู้ค่าใช้จ่าย และปริมาณการใช้คลาวด์ว่าใช้ไปจำนวนเท่าไหร่ และเหลืออีกเท่าไหร่ , Cisco WebEx Roomkit Mini มิติใหม่ของการประชุมทางไกลแบบ Co-working Space ที่สามารถเชื่อมต่อ Co-working Space ได้หลายที่พร้อมกัน และทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์แบรนด์อื่นๆได้อย่างราบรื่น
และ Cisco DNA Assurance ประสานข้อมูลการทำงานร่วมกันของระบบ IT infrastructure ปลดล๊อคการแก้ปัญหาระบบเครือข่ายที่ไร้ประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาในการหาสาเหตุของปัญหา ด้วยความสามารถในการทำ Analytic และ Machine Learning บนระบบเครือข่าย Cisco Intent Base Networking และสุดท้าย คือ Cisco Threat Response (CTR) นวัตกรรมทางด้านซีเคียวริตี้ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถรู้ว่าการโจมตีเกิดจากที่ใดอย่างแท้จริง ซึ่งอาจเกิดจากภายนอกหรือภายในองค์กรธุรกิจ ช่วยสืบสวน วิเคราะห์เส้นทางในการโจมตี ลดระยะเวลาปิดการโจมตี และแนะนำการแก้ปัญหาที่ตรงจุด โดยการประสานข้อมูลจากระบบ Threat Intelligence ต่างๆของ Cisco
นายวัตสัน กล่าวต่อว่า ทุกโซลูชั่นที่นำมาจัดแสดงพร้อมให้บริการกับทุกองค์กรแล้ว ซึ่งจากการสอบถามผู้เข้าร่วมงานมีความสนใจ คือในเรื่องห้องประชุมทางไกล และCisco Realware อุปกรณ์สวมใส่แห่งอนาคตที่ใช้คำสั่งผ่านเสียง ซึ่งเหมาะกับอุตสาหกรรมภาคการผลิต ไฟฟ้า เหมืองแร่ และสาธารณูปโภค ฯลฯ ที่สามารถใช้ช่วยในการเทรนพนักงานใหม่ โดยที่สามารถเห็นได้ทั้งภาพและเสียงจากไซต์งานส่งตรงมายังสำนักงานได้ทันที รวมถึงเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนตื่นตัว รวมถึงในต่างประเทศด้วย หลังจากมีข่าวเรื่องการแฮกเกอร์ในต่างประเทศที่เกิดความเสียหายจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามหลังการเลือกตั้ง แม้จะยังไม่มีการตั้งรัฐบาลในทันที แต่ก็เชื่อว่าในส่วนของภาคเอกชนนั้นการลงทุนอะไรที่ไม่เกี่ยวกับภาครัฐเชื่อว่าคงเดินต่อไปได้ แต่โครงการอะไรที่เกี่ยวข้องภาคเอกชนอาจจะต้องชะลอดูท่าทีรัฐใหม่ก่อน สำหรับในส่วนของซิสโก้เองนั้นตอนนี้มีลูกค้าเอกชนสัดส่วนประมาณ 70% และภาครัฐ 30% ถือว่าเติบโตขึ้นจากในช่วง 2-3 ปีก่อน มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 20% แสดงให้เห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาภาครัฐก็มีการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน.