6 ทักษะดิจิทัลลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในกลุ่มเทคโนโลยี
ไอที
เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างเพศที่เกิดขึ้น รัฐบาล มหาวิทยาลัยและเอกชนจึงควรสนับสนุน 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างเพศในภาคเทคโนโลยี ได้แก่
1. ความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer literacy) เป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดทักษะทางดิจิทัลแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นบันไดก้าวแรกในการก้าวสู่สายอาชีพทางเทคโนโลยีชั้นสูงต่อไป นอกจากนี้ การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนยังก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้หญิง ดังนั้น การมีความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ไอทีและความสามารถในการจำแนกความแตกต่างของเทคโนโลยีต่างๆ ได้
2. โปรแกรมมิ่ง (Programming) เป็นทักษะสำคัญในยุคดิจิทัลที่มีความต้องการสูงในตลาดแรงงาน ซึ่งในสหรัฐอเมริกา รายได้ของโปรแกรมเมอร์สูงถึงปีละ 62,860-106,580 ดอลลาร์ต่อปี และที่สำคัญทักษะโปรแกรมมิ่งสามารถฝึกฝนและเรียนรู้ได้จากคอร์สออนไลน์ต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีปริญญาในระดับมหาวิทยาลับรับรอง
3. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นทักษะที่มีความสำคัญและมีความต้องการอย่างมากในตลาด เนื่องจากเทคโนโลยี Smart Home ต่างๆ รวมถึงยานยนต์ไร้คนขับกำลังได้รับการพัฒนาอย่างก้าวหน้าในทุกปีๆ ซึ่งทักษะที่เกี่ยวเนื่องกับปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ Machine learning, Deep learning และระบบประมวลภาษาธรรมชาติ (NLP)
4. เทคโนโลยีเสมือน (Virtual Reality: VR) กำลังเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมบันเทิงและการแพทย์ การเข้าใจเทคโนโลยีดังกล่าว จะช่วยพัฒนากลยุทธ์และโมเดลทางธุรกิจ ตลอดจนโซลูชั่นใหม่ๆ ในอนาคต ซึ่งผู้หญิงสามารถร่วมกำหนดทิศทางไม่ว่าจะเป็นด้านโปรแกรมมิ่ง กลยุทธ์ทางธุรกิจ และการตลาด
5. วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) เป็นศาสตร์ที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการทราบความต้องการของลูกค้าและตลาด นอกจากนี้ ยังมีการนำวิทยาศาสตร์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมอีกด้วย
6. การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ถือเป็นทักษะสำคัญในยุคดิจิทัล เนื่องจากการทำการตลาดผ่านช่องทางดิจิทัลมีปริมาณมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคหันไปใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้นทักษะที่เกี่ยวกับการตลาดดิจิทัลจึงมีความสำคัญอย่างมาก เช่น SEO Content marketing Video search Video content Conversion optimization เป็นต้น
นางอเล็กซานดรา กล่าวว่า ดีแทคสนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างไม่เพียงเรื่องเพศ แต่ยังรวมไปถึงชาติพันธุ์ ศาสนา ดีแทคจึงได้กำหนดนโยบายต่างๆ ที่สนับสนุนความหลากหลายในองค์กร (Diverse workplace) ต่างๆ เช่น นโยบายลาคลอด 6 เดือน เป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้พนักงานที่มีบุตรสามารถลาคลอดได้ 6 เดือน โดยยังรับเงินเดือนเต็มอัตรา การอำนวยความสะดวกของคุณแม่ผ่านห้องให้นมบุตร ห้องเด็กเล่น เป็นต้น
นอกจากนี้ ดีแทคยังมีแนวนโยบายในการสร้างออฟฟิศปลอดภัย ผ่านการให้ความรู้และขั้นตอนการรายงานเมื่อเกิดเหตุ เพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน (Prevention to Sexual Harassment) ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งขององค์กร