ข่าวไอดีซีเผยแนวโน้มอุตสาหกรรมไอซีทีใน 3-5ปีข้างหน้า - kachon.com

ไอดีซีเผยแนวโน้มอุตสาหกรรมไอซีทีใน 3-5ปีข้างหน้า
ไอที

photodune-2043745-college-student-s
                ปัจจุบันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันไม่ได้ถูกมองเป็นเพียงภาพรวมของรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้ก้าวทันกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นเท่านั้น แต่ถูกยกระดับมาสู่การเจาะลึกลงรายละเอียดถึงสิ่งที่องค์กรจำเป็นต้องทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

                "ไอดีซี ประเทศไทย"  จึงมีการคาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้แบบเจาะลึก หรือที่เรียกว่า "IDC FutureScapes"    เพื่อให้ผู้บริหารสามารถกำหนดกลยุทธ์ด้านไอทีและการวางแผนสำหรับองค์กรต่าง ๆ  ได้


                 โดยปี 2562  นี้ “ ประภัสสร  เพชรแก้ว”  นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโส  ไอดีซี ประเทศไทย  บอกถึงภาพรวมของการใช้จ่ายด้านไอทีในประเทศไทยในปี 2561 ที่ผ่านมาว่า มีประมาณ 424,000 ล้านบาท ส่วนปี 2562 นี้ คาดว่าจะเติบโตเป็น 452,000 ล้านบาท   และจะสูงถึง  540,000 ล้านบาทในปี 2565 

               

ซึ่งการเติบโตมาจากปัจจัยหลักเรื่องทรานส์ฟอร์มเมชั่นและการใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3    เช่น คลาวด์ โมบิลิตี้  บิ้กดาต้าและโซเชียล   โดยมีสมาร์ทโฟนเป็นตัวขับเคลื่อนหลักเกือบ 70 %  ของค่าใช้จ่ายไอทีด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์  ซึ่งในปี 2561 การใช้จ่ายด้านสมาร์ทโฟนมีสูงถึง 184,000 ล้านบาท  ส่วนปี 2562คาดว่าจะมีประมาณ 203,000 ล้านบาท  
                ...สำหรับ 10 แนวโน้มด้านไอซีที  ที่ไอดีซีคาดว่าจะเห็นในประเทศไทยใน 3-5 ปีข้างหน้านั้น .. 
                อย่างแรกคือ " Digitalized Economy"  หรือเศรษฐกิจดิจิทัล   ภายในปี 2565  กว่า 61 % ของจีดีพีในประเทศไทยจะมาจากเศรษฐกิจดิจิทัล และเติบโตในทุกอุตสาหกรรม  ซึ่งจะถูกขับเคลื่อนโดยการนำเสนอ การดำเนินงานและความสัมพันธ์ต่างๆ และจะทำให้การใช้จ่ายด้านไอทีตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2565  เติบโตถึง 72,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

                สองคือ  "Digital-native IT"   ภายในปี 2565 การใช้จ่ายด้านไอทีของไทยประมาณ 60 % จะเกิดจากการใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3  เช่น คลาวด์ โมบิลิตี้  บิ้กดาต้าและโซเชียล  และเชื่อว่า  30% ขององค์กรจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น
                สาม  " Expand to the Edge"  ภายในปี 2565  กว่า 20 %  ของการใช้ระบบคลาวด์ขององค์กรในประเทศไทยจะเป็นการประมวลผลแบบผสม ซึ่งรวมการใช้เทคโนโลยี  Edge                  computing เข้าไปด้วย เพื่อความความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล และคาดว่า 25 % ของอุปกรณ์และระบบปลายทางจะใช้อัลกอริธึม AI
                ส่วนสี่ คือ  “ AppDev Revolution”  ภายในปี 2565 แอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ ของประเทศไทยกว่า  70% จะใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส  ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการออกแบบ  แก้จุดบกพร่อง อัพเดทและใช้ประโยชน์จากโค้ดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอพใหม่ ๆ ได้รวดเร็วขึ้น และคาดว่าใน 3 ปีข้างหน้า   25% ของการพัฒนาแอพพลิเคชั่นไทยจะเป็นระบบคลาวด์
                ห้า     “ New Developer Class”   ภายในปี 2567 ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะมีเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น  โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด    ทำให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่มากขึ้นถึง  20 %  และเป็นตัวช่วยผลักดันให้เกิดดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น
                หก   “ Digital Innovation Explosion”  ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ และแพลตฟอร์มใหม่ ๆ  ที่ทำให้การเขียนแอพง่าย และสะดวกขึ้น   บวกกับจำนวนผู้พัฒนาที่เพิ่มมากขึ้น   ส่งผลให้ประเทศไทยจากปี 2561 ถึงปี 2566  สามารถสร้างแอพลิเคชั่นใหม่  ๆ ได้ กว่า 4 ล้านแอพ 
                เจ็ด   “ Growth Through Specialization”    ภายในปี 2565  ไอดีซีคาดว่า  15% ของการประมวลผลแบบคลาวด์สาธารณะ   จะใช้โปรเซสเซอร์แบบใหม่ที่ไม่ใช่  x86   รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างควอนตัมในประเทศไทย  และภายในปี 2565  องค์กรต่างๆจะใช้จ่ายกับแอพพลิเคชั่นในรูปแบบการให้บริการผ่านคลาวด์มากกว่าแอพพลิเคชั่นแบบที่ใช้ทั่วไป
                แปด     “AI is the New UI”   ด้วยความใช้งานที่ง่ายขึ้นของเทคโนโลยี  AI  และระบบอัตโนมัติต่าง ๆ  ทำให้ ไอดีซีคาดว่าภายในปี 2567 เทคโนโลยี AI จะเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้หรือยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ( UI ) ใหม่ ซึ่งจะแทนที่หนึ่งในสามของแอพพลิเคชั่นที่ใช้หน้าจอในปัจจุบันของประเทศไทย และภายในปี 2565  ผู้ประกอบการ  20 % จะใช้เทคโนโลยีด้านพูดสนทนาอย่างเช่นแชทบอท เพื่อการมีส่วนร่วมของลูกค้า
                เก้า  คือ  “ Expanding/Scaling Trust”   ภายในปี 2566  วงการซีเคียวริตี้จะมีการใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติมากขึ้น  ซึ่งจะมี  25% ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะทำการเข้ารหัสข้อมูลที่เหลือและการเคลื่อนไหวต่างๆในประเทศไทย    โดยมากกว่า 20 %  ของวิธีการแจ้งเตือนเรื่องความปลอดภัยจะถูกจัดการด้วย AI  และ 3.5 ล้านคนจะมีอัตลักษณ์ทางดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน
                และสิบ “ Consolidation vs Multicloud”  ภายในปี พ. ศ. 2565 กลุ่มผู้ให้บริการคลาว์  “ที่รองรับระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่”  สี่อันดับแรกจะใช้พื้นที่  80  % ของการติดตั้ง IaaS / PaaS ในประเทศไทย  แต่ภายในปี 2566    องค์กร  70 % ในประเทศไทยที่ติดอันดับ ท้อป100  จะช่วยลดการล็อคอินผ่านเทคโนโลยีระบบคลาวด์ที่หลากหลายและเครื่องมือที่สามารถขับเคลื่อนได้มากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไป.