ผลวิจัยพบคนกรุงส่วนใหญ่ยังไม่ใช้แอพเรียกวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
ไอที
โดยสำรวจกับคนกรุงเทพฯ 1,234 คน และคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ “วิน” จำนวน 605 คน ทั้งผู้โดยสารและคนขับส่วนใหญ่ยังไม่เคยลองใช้แอพพลิเคชั่นเรียกรถจักรยานยนต์ และยังเปิดรับทางเลือกใหม่ที่เพิ่มขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขามีตัวเลือก เปิดให้มีการแข่งขันในตลาดเพื่อทำให้มีการปรับราคาและบริการให้ดีขึ้น รวมถึงป้องกันการผูกขาดตลาด
ผลสำรวจพบว่า คนกรุงส่วนใหญ่ 79% เคยใช้บริการวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างในการเดินทาง โดยกลุ่มผู้หญิงจะใช้บริการมากกว่าผู้ชาย กลุ่มอายุน้อยจะใช้บริการมากกว่ากลุ่มอายุมาก
เมื่อสอบถามเพิ่มเติมในกลุ่มผู้ที่เคยใช้บริการวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 68% มีความถี่ในการใช้บริการมากกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ และมีถึง 23% ที่ใช้บริการประจำเกือบทุกวัน โดยปัญหาในการเรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่พบเจอมากที่สุดคือต้องรอคิวนานในชั่วโมงเร่งด่วน นอกจากนี้ยังเจอปัญหาไม่มีวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างอยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีการปฏิเสธผู้โดยสาร และไม่มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างให้บริการในช่วงเช้ามืดหรือในช่วงดึก
ขณะเดียวกันคนกรุงส่วนใหญ่ยังต้องการให้มีการปรับปรุงการให้บริการในส่วนของความปลอดภัยในการขับขี่ มารยาทในการขับขี่ และการคิดราคาค่าบริการที่ไม่มีมาตรฐาน
ทั้งนี้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ จากการสำรวจพบว่า คนกรุง 72% รับรู้ว่ามีการให้บริการแอพพลิเคชั่นเรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะรับรู้ว่ามีการให้บริการดังกล่าวเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย แต่กลับมีคนกรุงจำนวนมากถึง 65% ที่ยังไม่เคยได้ทดลองใช้บริการ
นอกจากนี้ยังพบว่า หากมีแอพพลิเคชั่นใหม่ให้บริการในตลาด คนกรุงส่วนใหญ่ 65% ก็พร้อมที่จะทดลองใช้งาน โดยส่วนใหญ่เห็นว่าการมีตัวเลือกบริการแอพพลิเคชั่นจำนวนมากในตลาดจะส่งผลดี เนื่องจากทำให้มีทางเลือกมากขึ้น มีการแข่งขันด้านราคา/โปรโมชั่น และมีการแข่งขันด้านบริการ
สำหรับเหตุผลหลักที่จะทำให้คนกรุงตัดสินใจเลือกใช้แอพพลิเคชั่นใดแอพพลิเคชั่นหนึ่งนั้นจะมาจากเรื่องของราคาค่าบริการ ความรวดเร็วในการให้บริการ แอพพลิเคชั่นใช้งานง่าย และอื่นๆ เช่น มีประกันอุบัติเหตุและประกันของสูญหาย พนักงานบริการดีสุภาพ
ขณะที่ในส่วนของวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างนั้น จากการสำรวจพบว่าเกือบทั้งหมดคือ 96% รับรู้ว่ามีการให้บริการเรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้างผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ แต่มีเพียง 15% เท่านั้นที่สมัครเข้าร่วมให้บริการกับแอพพลิเคชั่น โดยเหตุผลหลักที่ไม่สมัครเข้าร่วมเพราะไม่มีอะไรดึงดูดใจให้ต้องสมัคร ใช้งานแอพพลิเคชั่นไม่เป็น และขี่วินมอเตอร์ไซค์ทั่วไปก็ดีอยู่แล้ว
นอกจากนี้วินมอเตอร์ไซค์ส่วนหนึ่งเห็นว่าการที่มีจำนวนแอพพลิเคชั่นเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลดีโดยทำให้มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีทางเลือกในการสมัครเข้าร่วมให้บริการกับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ไม่เกิดการผูกขาดในตลาด ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นเกิดการแข่งขันกันเพื่อผู้สมัครเข้าร่วมมีรายได้และสิทธิประโยชน์มากขึ้น รวมถึงการช่วยกันโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักและหันมาใช้บริการมากขึ้น
ส่วนเหตุผลที่จะทำให้วินมอเตอร์ไซค์ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมให้บริการกับแอพพลิเคชั่นใดแอพพลิเคชั่นหนึ่งนั้นจะมาจากเรื่องของการมีรายได้ค่าตอบแทนที่ดี มีความน่าเชื่อถือ มีประกันชีวิตประกันอุบัติเหตุ และอื่นๆ เช่น มีการให้โบนัสหรือสิทธิประโยชน์พิเศษ มีการดูแลพนักงานที่สมัครเข้าร่วม
นายภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริการและผู้ร่วมก่อตั้ง “เก็ท” กล่าวว่า “เราได้ทำการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าคนกรุง ทั้งผู้บริโภค และคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างต้องการอะไร เพื่อให้เราสามารถตอบโจทย์ของพวกเขาได้ การสำรวจที่เราทำร่วมกับเอยูโพลนี้ช่วยยืนยันความคิดและทฤษฎีของเราหลายข้อ การใช้งานแอพพลิเคชั่นเรียกรถมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพฯ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่รวดเร็วและครอบคลุม ด้วยความจำกัดของทางเลือกที่มีในตลาดที่ผ่านมา การเข้ามาของ ‘เก็ท’ จะช่วยขยายทั้งดีมานด์และซัพพลาย์ให้ตลาด ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรี ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้งผู้บริโภคและคนขับในกรุงเทพฯ”
“จากที่เราได้เปิดตัวเบต้าแอพไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เราได้พิสูจน์แล้วว่าคนขับวินที่ถูกกฎหมายต่างสนใจและยินดีที่จะเข้าร่วมกับแอพที่เข้าใจพวกพี่ๆ เขาได้ดี ตอนนี้ ‘เก็ท’ ให้บริการอยู่ในพื้นที่ 29 เขต ด้วยพี่วินจำนวนมากที่ช่วยรับส่งผู้โดยในกรุงเทพมหานคร และเรามีแผนจะขยายอย่างต่อเนื่อง เราตื่นเต้นที่จะเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบในเร็วๆ นี้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับทั้งผู้โดยสารและคนขับ เพื่อช่วยให้ชีวิตของคนกรุงง่ายขึ้น”
ทั้งนี้ "เก็ท” พร้อมให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้แล้ววันนี้ ทั้งทาง App Store และ Play Store