ลุ้นครม.ผ่านร่างแก้ไขคุณสมบัติผู้สมัครกสทช.วันนี้
ไอที
ทั้งนี้ มีสาระสำคัญ คือ แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการกสทช. ซึ่งเดิมการสรรหากรรมการกสทช.จำนวน 7 คน จะแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกิจการกระจายเสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ ด้านกิจการโทรคมนาคม ด้านวิศวกรรม ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้แก้ไขโดยไม่ต้อฝกำหนดว่าผู้เข้ารับการสรรหาต้องมีความรู้ด้านใดด้านหนึ่งเหมือนในอดีตแต่เปลี่ยนเป็นไม่ต้องกำหนดความรู้ ความเชี่ยวชาญของกรรมการ เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้มีกรรมการกสทช.ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา
การแก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ให้เป็นมาตรฐานเดียวกับองค์กรอิสระแก้ไขให้กรรมการกสทช.จะพ้นจากตำแหน่งได้จะต้องเป็นผู้ที่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเท่านั้น อีกทั้งผู้สมัครไม่ต้องลาออกจากการเป็นผู้บริหารองค์กรหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการกกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมก่อน 1 ปี ก่อนรับการสรรหา และยังปรับระดับและตำแหน่งของผู้เข้ารับการสรรหาเพื่อเป็นกรรมการกสทช.จากแต่ละอาชีพให้มีมาตรฐานและระดับที่เท่ากันทุกสาขาอาชีพ ให้ปรับเพิ่มกรณีผู้สมัครประกอบอาชีพหรือที่ไม่ได้ระบุคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งไว้ให้ชัดเจน เช่น กรณีผู้สมัครที่เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการ ให้เพิ่มเติมผู้รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ตำกว่ารองอธิบดี ผู้พิพากษา รองอธิบดีศาลปกครองชั้นต้น กรณีผู้สมัคเป็นทหารหรือตำรวจ ต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่ง พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือพลตำรวจตรี กรณีผู้สมัครด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ให้ปรับเปลี่ยนจากเคยมีประสบการไม่น้อยกว่า 10 ปี เป็นเคยมีประสบการณ์ในกิจการคุ้มครองผู้บริโภคไม่น้อยกว่า 20 ปี
ในส่วนของกระบวนการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการเดิมกำหนดให้กรรมการสรรหาสรรหาให้ได้จำนวน 2 เท่าของกรรมการคือ 14 คน เพื่อให้วุฒิสภาเลือกให้เหลือ 7 คน โดยร่างใหม่แก้ไขให้กรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเป็นกรรมการกสทช. 7 คน แล้วดำเนินการส่งให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบรายชื่อที่กรรมการสรรหาเสนอ โดยผู้ที่ได้รับการสรรหาต้องได้รบคะแนนเสียงจากวุฒิสภาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมด โดยให้กระบวนการทั้งหมดต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันกันองค์กรอิสระตามธรรมนูญอื่น ทั้งนี้ หลังจากได้รับความเห็นชอบจากครม.แล้ว จะส่งร่างให้คณะกรรมการกฤษฏีกาพิจารณา ก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาในอนาคตเป็นผู้คัดเลือก